banner

banner

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

น้ำมันโอเมก้า จากถั่วอินคา

น้ำมันโอเมก้า จากถั่วอินคา 
SACHA INCHI OMEGA OIL




อุดมไปด้วยโอเมก้า3 (54.0%)
โอเมก้า 6 (33.4%) และ โอเมก้า 9 (7.2%) และ Vitamin A, E



จากผลงานของนักวิจัย

คุณสมบัติของโอเมก้า
ในน้ำมันโอเมก้า จากถั่วอินคา 

จะเข้าไปละลายไขมันที่อุดตันในเส้นเลือดทำให้
ลดความดันโลหิตสูง

และช่วยสร้างอินซูลินในเลือดทำให้ 
ระดับน้ำตาลในเลือด
ของผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลง

และบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดเข่า
ปวดหัวไมเกรน ลดความเครียด ทำให้นอนหลับสบาย

ผลิตด้วยเทคโนโลยีสกัดเย็นที่ทันสมัย
ผ่านการตรวจสอบส่วนผสม ไม่มีสารอันตราย


สำนักคณะกรรมการอาหารและยา

(หมายเลขจดแจ้ง 20-1-5800428)

ติดต่อหรือสั่งซื้อได้ที่ครู ชอร์ว 02-957-9954 , 089-496-8695


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมล็ดถั่วดาวอินคา อุดมด้วย โอเมก้า 3 6 9 วิตามิน A E



รายการคนเพื่อแผ่นดิน ตอน"ถั่วดาวอินคา"เชิญเรียนรู้กับพืชเศรฐกิจตัวไหม่ที่เป็นทั้งอาหารและ¬ยา รายการคนเพื่อแผ่นดินออกอากาศทางบุญนิยมที¬วี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00 น.

 ประโยชน์ที่ได้จากน้ำมันถั่วอินคา

 - มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
 - มีกรดไขมัน โอเมก้า 3,6 และ 9
 - มีวิตามิน A และ E
 - ช่วยในการลดระดับเคอเลสเตอรอลและป้องกันการแข็งตัวของเลือด - ลดน้ำหนักควบคุมระบบน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเศร้า
 - ประโยชน์ในการรักษาโรค Crohn (การอักเสบของลำไส้) ช่วยรักษาสุขภาพผิวและป้องกันผมร่วง ลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮอร์โมนของผู้หญิง 
- รักษาโรคผิวหนัง หอบหืด ไมเกรน ต้อหิน รักษาการอักเสบของก้ามเนื้อและข้อมีคุณสมบัติต้านการอักเสบความเมื่อยล้า,โรคข้ออักเสบ, โรคไขข้อ, ภาวะหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน
 - ความเครียดอ่อนเพลียหงุดหงิดประสาทหรือจิตและนอนไม่หลับ
 - ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันเลือดสูง ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง
 - พัฒนาการสมองของเด็ก ป้องกันโรคอัลไซส์เมอร์ โรคพาร์คินสัน 

 ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ ครูชอร์ว โทร 02-957-9954,089-496-8695

ดาวอินคา พืชมหัศจรรย์ สุดยอดโภชนาการ

ปัจจุบันกระแสความนิยมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่คุณค่าทางอาหารว่ามีองค์ประกอบของสาระสำคัญทางโภชนาการ อะไรบ้าง และในยุคการสื่อสารระบบ 3G กำลังจะไปสู่ยุค 5G ทำให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ข่าวเกี่ยวกับพืชที่นำเข้ามาจาก ต่างประเทศข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากป่า อะเมซอน โดยมีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆชักชวนให้เกษตรกรปลูก และมีการรับซื้อผลิตผลในราคาที่จูงใจ ทำให้เป็นที่สนใจของเกษตรกรโดยทั่วไป พืชชนิดนี้คือ ดาวอินคา 



 ดาวอินคา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณป่า อะเมซอน แถบประเทศเปรู มีการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่สมัยอารยะธรรม ชาวอินคา หรือเมื่อกว่า 3000 ปีที่ผ่านมา โดยนำมาประกอบอาหาร เช่น เมล็ดสุกนำมาทำซอส น้ำมัน และเมล็ดคั่วเป็นส่วนผสมของอาหารพื้นเมือง หรือทำเป็นครีมบำรุงผิว เป็นต้น ดาวอินคา เป็นพืชที่ผลมีรูปร่างคล้ายดาว ภายในมีเมล็ดคล้ายถั่ว เมื่อนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย จึงเรียกว่า ดาวอินคา หรือ ถั่วดาวอินคา 
ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Plukenetia volubilis L. มีชื่อ สามัญว่า sacha inchi, sacha peanut, mountain peanut, supua หรือ Inca peanut เป็นพืชอายุหลายปี เป็นพืชเฉพาะถิ่นในป่าอะเมซอน แถบประเทศเปรู พืชในสกุลนี้มีพบในประเทศไทยอยู่ 1 ชนิด คือ Plukenetia corniculata Sm. ส่วนชื่อไทยและการใช้ประโยชน์นั้นยังไม่มีข้อมูล 
 ดาวอินคา เป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี มีอายุได้นาน 10 ถึง 50 ปี ลำต้นสูง 2 เมตร กิ่งและยอดแผ่เลื้อยพันตามกิ่งไม้หรือโครงสร้างไม้เลื้อยพันอื่นๆ 
 ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตรงถึงรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบยาว 10 – 12 ซม. กว้าง 8 – 10 ซม. ก้านใบยาว 2 – 6 ซม. 
 ดอก เริ่มออกดอกเมื่ออายุ 5 เดือนหลังจากปลูก และติดเมล็ดเมื่ออายุ 8 เดือน ดอกช่อแบบช่อกระจะ (raceme) ดอกแยกเพศอยู่บนต้น เดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาดเล็ก สีขาว เรียงเป็นกระจุกตลอดความยาวช่อ ดอกเพศเมีย 2 ดอก อยู่ที่โคนช่อดอก 
 ผลแบบแคปซูล เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 ซม. มี 4 – 7 แฉก ผลอ่อนสีเขียว และสีจะเข้มขึ้นตามอายุ ผลแก่มีสีน้ำตาลดำ มีเนื้อนุ่มๆ สีดำ หุ้มอยู่ซึ่งกินไม่ได้ โดยปรกติจะทิ้งให้แห้งคาต้นก่อนเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วนำมาตากแดดอีก 1 วัน จึงนำผลผลิตไปจำหน่าย 



 เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลดำ ขนาดกว้าง 1.7 – 1.8 ซม. ยาว 2.0 – 2.2 ซม. เมล็ดหนัก 1.3 - 1.7 กรัม เมล็ดแห้งที่ยังดิบอยู่ใช้บริโภคไม่ได้ แต่ถ้านำไปคั่วให้สุกแล้วจะอร่อยมาก ต้นดาวอินคาเจริญเติบโตได้ในที่อุณหภูมิ 10 – 36 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 100 – 2000 ม. จากระดับน้ำทะเล สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย 

การปลูก 
 ขยายพันธุ์โดยเมล็ด โดยการนำเมล็ดที่แก่แล้วมาเพาะในถุงดำ เมื่อต้นสูงประมาณ 30 ซม. จึงย้ายปลูก หรือหยอดเมล็ดในหลุมปลูกเลย ก็ได้ ระยะปลูก 2 x 3 ถึง 2 x 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 200 – 300 ต้น เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขังแฉะ ในพื้นที่ต่ำควรยกร่อง ทำค้างสำหรับให้ ต้นเลื้อยพัน โดยใช้วัสดุในพื้นที่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมักใช้ท่อพีวีซีเป็นเสาหลักแล้วใช้สายโทรศัพท์เก่าขึงระหว่างเสาเป็นค้างสำหรับให้ยอด เลื้อยพัน โรคแมลงยังรบกวนน้อย ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยทั่วไปดาวอินคาสามารถให้ผลผลิต 600 – 800 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลผลิต ยาวนาน 15 – 50 ปี 



 การใช้ประโยชน์ 

 ทุกส่วนของต้นดาวอินคาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ยอดและใบอ่อน สามารถนำไปประกอบอาหารได้ เช่น นำไปผัด 
 ใบของต้นดาวอินคา โดยเฉพาะใบที่ยังไม่แก่มากนำมาหั่นแล้วผึ่งแดด 1 – 2 แดด นำไปต้มดื่มเป็นน้ำชา สามารถลดน้ำตาล และไขมันใน เส้นเลือด หรือนำไปสกัดเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ ผลอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น ฝานเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำไปผัดกับยอดและใบเช่นเดียวกับผัดผักบุ้งไฟแดง หรือนำไปทำแกงเลียงก็ได้ 



 น้ำมันดาวอินคา เป็นน้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2007 น้ำมันดาวอินคาได้รับรางวัลเหรียญทอง จาก the AVPA Specialty Foods Commodities ดาวอินคาได้ชื่อว่าเป็น super food เนื่องจากมีกรดไขมันที่จำเป็นในปริมาณสูง น้ำมันมีกลิ่นหอม อ่อนๆ รสไม่ขม และเมล็ดดาวอินคาก็มีการทำเป็นขนมขบเคี้ยวเนื่องจากมีโอเมก้า 3 และโปรตีนสูง เมล็ดดาวอินคามีโปรตีนถึง 27% และน้ำมัน สูงถึง 35 – 60% ในน้ำมันมีโอเมก้า 3 สูงถึง 45 – 63% โอเมก้า 6 สูง 34 – 39% และโอเมก้า 9 สูง 6 – 10% นอกจากนี้ยังประกอบด้วยไอโอดีน วิตามินเอ และวิตามินอี 



 น้ำมันดาวอินคามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคความดัน โลหิตสูง ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ลดน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเสร้า รักษาความแข็งแรงของ เยื่อหุ้มเซลล์ ลดการอักเสบของหลอดเลือด โรคไขข้อ รักษาโรคผิวหนัง หอบหืด ไมเกรน ต้อหิน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมความดันลูกตาและ เส้นเลือด รวมทั้งควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย 

 น้ำมันจากเมล็ดดาวอินคา มีทั้งรูปแบบที่บรรจุแคปซูล และบรรจุขวด เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ทำน้ำสลัด ทำผลิตภัณฑ์เสริมความงามและ อาหารเสริมเช่น โฟมล้างหน้า สบู่ ครีมบำรุงผิว โลชั่น กากเมล็ดและเปลือก นำไปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือเชื้อเพลิงอัดแท่ง 

สถานะดาวอินคาในประเทศไทย 
 ได้มีบริษัทเอกชนนำดาวอินคาเข้ามาส่งเสริมการปลูกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มที่จังหวัดหนองคาย เนื่องจากเห็นว่ามีที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ เส้นทางคมนาคมที่เหมาะสม และสามารถเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศอินโดจีนได้ บริษัทได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกโดยการแจกเมล็ดพันธุ์ให้ฟรี แล้วรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน ซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้ระยะยาว เพราะดาวอินคาสามารถเก็บผลผลิตได้หลังจากปลูกเพียง 7 เดือนจนถึง 40 - 50 ปี หากมีการดูแลที่เหมาะสม โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี 

 จากการศึกษาของนักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่าหลังจากปลูกเพียง 1 ปี ดาวอินคาสามารถเจริญเติบโตได้ดี จึงได้นำไปส่งเสริม ให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ปลูก เช่น จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร เป็นต้น สำหรับในภาคอื่นๆ พบว่ามีหลายจังหวัด ที่มีการปลูกดาวอินคา เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบปลูกในจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ภาคกลาง พบปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และภาคตะวันออก พบปลูกในจังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรนำไปปลูกมากกว่า 10,000 ไร่แล้ว 




 ติดต่อ ครูชอร์ว 69/273 หมู่บ้านฟ้ารังสิต
 ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12310 
Tel: 02 - 957 - 9954 , 
มือถือ : 089-496-8695 
Line :pensionfunds